แหล่งจำหน่ายและเพาะเลี้ยง พ่อ-แม่พันธ์ุปูนา ผลิตภัณฑ์แปรรูปปูนา อาหาร-แร่ธาตุสำหรับปูนา ทั้งปลีก-ส่ง และ รับซื้อปูนาเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์... สอบถามโทร.063-323-8189
การเลี้ยงปูนา สร้างอาชีพ
ปูนา นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้และเป็นแหล่งโปรตีนที่คู่กับวิถีชีวิตของชาวนาไทยโดยตลอด โดยเฉพาะฤดูฝนจะพบเห็นปูนาในท้องทุ่งนา ตามแหล่งน้ำจำนวนมาก นอกจากนำมาทำเป็นปูดองใส่ส้มตำแล้ว ปูนายังนำมา ต้ม ผัด แกง ทอด ได้เช่นเดียวกับปูทะเล ทั้งยังมีรสชาติที่ดีไม่แพ้กันด้วย ราคาปูนาในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 80 -100 บาท นับเป็นราคาดีไม่น้อยทีเดียวและนอกจากจับได้จากธรรมชาติแล้ว การเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ปูนาจำหน่ายก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากนัก จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ที่ดีให้กับผู้ที่เลี้ยง
การผสมพันธุ์ของ ปูนา
เมื่อปูนาเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขนาดประมาณ 2 เซ็นติเมตร อายุ 90 วันหรือประมาณ3 เดือนจะมีการลอกคราบประมาณ 7 ถึง 9 ครั้งขึ้นอยู่กับสารอาหารที่ได้รับ และปูที่สามารถเป็นพ่อ-แม่พันธ์ควรมีอายุระหว่าง 5-8เดือน ถ้าอายุมากกว่านั้นจะเริ่มเป็นปูแก่อัตราการให้ลูกหรือผลิตน้ำเชื่อมเริ่มลดลงตามวัย ไม่เหมือนปูวัยรุ่น ลักษณะของปูเพศผู้จะมีกล้ามซ้ายใหญ่กว่าข้างขวาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนท้องที่เรียกว่าจับปิ้งจะมีฐานกว้างปลายเรียวแหลมคล้ายตัวที ส่วนเพศเมียก้ามเล็กตามทั้งสองมีความแตกต่างกันไม่มาก จับปิ้งมีลักษณะเล็กเรียว ในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศที่เรียกว่าปูกระเทย ก็จะขยายเป็นแผ่นกว้างครึ่งวงกลมเกือบเต็มส่วนท้อง ปลายมน ที่ขอบมีขนละเอียดเพื่อประโยชน์ในการอุ้มไข่ เมื่อเปรียบเทียบขนาดถ้าอายุเท่ากัน ปูเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปูเพศเมียเสมอ
เมื่อเข้าไปฤดูฝน ปูจะออกจากรูเพื่อหาอาหารตามแหล่งน้ำและผสมพันธุ์ ในฤดูผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวดุ เมื่อตัวผู้เข้าใกล้ ปูเพศผู้จะไล่ปูเพศเมียเป็นระยะๆ เมื่อได้จังหวะปูเพศผู้จะขึ้นคร้อมและใช้ขาคู่ที่ 2 ถึง 4 พยุงเพศเมียไว้ด้านหลัง การจับคู่ในลักษณะนี้จะดำเนินต่อเนื่องกันประมาณ 3 ถึง 4 วัน
เมื่อช่วงเช้าเข้าฤดูผสมพันธุ์ ปูนาเพศเมียจะมีการลอกคราบและมีกระดองนิ่ม รวมถึงมีอาการก้าวร้าวมาก และจะเลือกปูนาเพศผู้เพื่อผสมพันธุ์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น หากไม่ใช่ตัวที่เลือกก็จะไล่ให้ออกห่าง หากยอมรับก็จะมีการผสมพันธุ์ขึ้น โดยปูนาเพศผู้จะใช้ก้ามจับปูนาเพศเมียหงายขึ้นและแนบลำตัวติดจับปิ้งของปูเพศเมีย พร้อมสอดอวัยวะสืบพันธุ์และฉีดน้ำเชื้อเข้ารูเปิดของปูเพศเมียบริเวณหน้าอก บริเวณโคนขาคู่ที่ 3 ที่มีสองรูเมื่อน้ำเชื้อถูกฉีดเข้าไปจะถูกนำเข้าในถุงเก็บน้ำเชื้อของปูเพศเมีย ซึ้งเก็บได้นาน 3 ถึง 4 เดือน การผสมพันธุ์นี้จะใช้เวลาราวๆ 3 ชั่วโมง
หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ปูเพศผู้จะยังตามติดปูเพศเมียต่ออีกประมาณ 2 ถึง 3 วัน เพื่อให้ความคุ้มครองอันตรายให้ปูเพศเมีย จนมีกระดองแข็งแรงและสามารถหาอาหารได้ตามปกติ หลังจากการผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะผลิตไข่เข้าไปผสมกับน้ำเชื้อและนำออกผ่านทางท่อนำไข่มาพักเก็บไว้ที่แผ่นท้องของตัวเอง ปูแต่ละแม่จะมีไข่ประมาณ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดความสมบูรณ์ของแม่ปู แม่ปูขนาดกระดองกว้างประมาณ 3-4 เซ็นติเมตร จะมีไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 700 ฟอง
การพัฒนาของไข่ ปูนา
เมื่อได้รับการผสมพันธุ์จากปูเพศผู้แล้ว ไข่จะเริ่มพัฒนาอยู่ภายในช่องว่างภายในตัวระหว่างกระดอง การพัฒนาของไข่แบ่งได้เป็น 4 ระยะดังนี้
- ระยะที่ 1 รังไข่ยังไม่พัฒนา มีลักษณะเป็นเส้นยาวแบบสองเส้นแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างภายในลำตัวตามขอบกระดองด้านหน้าบน
- ระยะที่ 2 รังไข่ขยายตัวใหญ่ คุมช่องว่างภายในลำตัวประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ไข่เริ่มมีสีครีมหรือเหลืองอ่อน
- ระยะที่ 3 ไข่เริ่มขยายตัวขดไปตามช่องว่างภายในลำตัว คุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ถึง 70 ไข่มีสีเหลืองอ่อน
- ระยะที่ 4 ไข่พัฒนาสมบูรณ์ แผ่เต็มพื้นที่เต็มช่องว่างภายในลำตัวผิวมันวาว แยกเป็นเม็ดสีเหลืองแก่หรือส้ม
ไข่เมื่อถูกพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อแยกเป็นเม็ดแล้วจะถูกส่งออกไปตามท่อนำไข่เพื่อผสมกับน้ำเชื้อที่ถูกขับออกมาจากถุงเก็บน้ำเชื้อถ่ายที่ผสมแล้วจะถูกขับออกมาทางรูเปิดที่หน้าท้องจะผลิตสารเหนียวออกมายึดติดไข่ไว้กับขนของแผ่นหน้าท้อง ประมาณ 10 ถึง 12 วัน ไข่ที่เหมาะสมแล้วที่ติดกับจับปิ้งในบริเวณหน้าอกที่ฟักเป็นลูกขนาดเล็กโดยลูกปูเหล่านี้ยังคงเกาะอาศัยอยู่กับจับปิ้งอยู่ โดยแม่ปูจะใช้รยางค์ที่บริเวณหน้าท้องโบกสะบัดกระแสน้ำที่มีอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 20 ถึง 23 วัน ลูกปูก็จะลอกคราบเป็นลูกปูวัยอ่อน มีลักษณะครบถ้วนเหมือนพ่อและแม่ เมื่อแม่ปูเห็นว่าลูกปูแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตด้วยตัวเองแล้วก็จะใช้กล้ามเขี่ยลูกปูให้หลุดออกจากจับปิ้ง
ลูกปูนาที่ฟักออกจากไข่จะฟักเป็นตัว ในขณะที่ยังอยู่ในแผนหน้าท้องของแม่ปู แล้วจะอาศัยในแผนหน้าท้องของแม่ปูนาน 2 ถึง 3 สัปดาห์ ก่อนที่แม่ปูจะใช้ขาเกี่ยวออกไปอาศัยในแหล่งน้ำ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมแม่ปูจะเก็บลูกอ่อนไว้นานขึ้น โดยลูกปูที่พักออกมาใหม่จะมีขนาดลำตัวเล็กเพียงไม่กี่มิลลิเมตร ลำตัวจะมีสีนวลและเมื่อเจริญเติบโตจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำตาลอ่อนและสีน้ำตาลเข้มตามลำดับ
การเลี้ยงปูนา
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเลี้ยงปูนาในบ่อซิเมนต์ มีเกษตรกรทดลองเลี้ยงปูนา ทั้งบ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยม โดยเกษตรกรเลี้ยงประมาณ 10 เดือน พบว่าปูได้ขนาดที่ต้องการและเลี้ยงง่ายกินอาหารง่าย สามารถแพร่พันธุ์ได้และขั้นตอนการเลี้ยงไม่ยุ่งยากข้อดีของการเลี้ยงแบบนี้คือดูแลว่ายและปูไม่หนี
วิธีการเลี้ยงปูนา
1. การเตรียมบ่อเลี้ยงปูนา

การสร้างบ่อปูนซีเมนต์ให้ติดตั้งท่อพีวีซีในบ่อเพื่อเป็นรูระบายน้ำออกเพื่อเปลี่ยน-ถ่ายนำ้ และ ในกรณีที่เป็นบ่อใหม่ให้ใส่น้ำลงไปในบ่อให้เต็มแล้วให้ใส่กาบต้นกล้วยและน้ำส้มสายชูลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วันเพื่อลดความเค็มและความเป็นกรด หลังจากนั้นจึงสามารถนำปูลงเลี้ยงได้ หรือจะเลี้ยงโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติก็ได้โดยการนำดินลงมาใส่จนมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตรแล้วนำพืชนำ้ใส่ลงไป เช่น จอก แหน ผักตบ ผักบุ้ง อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ของสภาพพื้นที่
1.2 วงปูนซีเมนต์(วงกลม)

***กรณีเป็นบ่อซีเมนต์ใหม่ ผู้เลี้ยงจำเป็นจะต้องทำการลดความเค็มจากปูนเสียก่อน โดยการใส่น้ำสมสายชู+กาบกล้วยตัดใส่ลงไปตามรูป ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน หรือให้สังเกตุกาบกล้วยเริ่มเน่า หลังจากนั้นล้างทำความสอาด
จึงสามารถนำพ่อ-แม่พันธุ์ปูลงไปเลี้ยงได้ และให้สังเกตุถ้าปู ขา ก้าม ไม่หลุด หรือปูไม่ขึ้นมาอยู่บนบก แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าหากสังเกตุเห็นว่าปูเริ่มทยอยตาย ขา ก้ามหลุด ปูไม่ยอมลงน้ำ แสดงว่า ความเค็มจากบ่อปูนยังมีค้างอยู่ ต้องทำการลดความเค็มอีกครั้งตามขั้นตอนเดิม

*** ลักษณะการจัดบ่อ ในบ่อเลี้ยงควรจะมี ท่อPVC ขนาด 2 นิ้ว กระเบื้อง อิฐบ็อค และใส่พืชน้ำส่ลงไป

1.2 บ่อกระชังแผ่น HDPE


หมายเหตุ: ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าขนส่ง
1.3 บ่อฟิวเจอร์บอร์ด


2. จับปูนามาเลี้ยง
นำปูที่จับมาจากน้ำธรรมชาติ โดยใช้ขนาดความยาวของลำตัวประมาณ 4 เซนติเมตร คัดเอาแต่ตัวที่แข็งแรงและมีขาที่ครบสมบูรณ์มาปล่อยลงในบ่อโดยใช้ตัวผู้ 20 ตัวและตัวเมีย 20 ขนาดบ่อ : กว้าง 1.2M ยาว 2.4M สูงประมาณ 40-50CM

3. การให้อาหารปูนา
ปูนาจะผสมกันในช่วงฤดูฝน แม่ปู 1 ตัว จะมีไข่ประมาณ 500-700 ฟอง ดังนั้นปูนาหนึ่งตัวจะออกลูกได้ประมาณ 500-700 ตัว และปูนาใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 6-8 เดือนจึงจะโตเต็มที่ขึ้นอยู่กับการได้รับสารอาหารด้วย การสังเกตว่าแม่ปูเริ่มตั้งท้องเริ่มมีใข่ให้ดูจากกระปิ้งหน้าท้องจะเริ่มขยายออกมา รออีกไม่เกิน 1-2 เดือนจะเริ่มพัฒนาเป็นตัว จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่การให้อาหารและสารอาหารที่ได้รับด้วย ช่วงเวลาดังกล่าวผู้เลี้ยงจะต้องไม่พยายามไปรบกวน หรือถ้าเป็นไปได้ให้แยกออกมาเลี้ยงเดี่ยวก็จะเป็นการดี เพื่อลดความเสี่ยงถ้าถ้าเกิดแม่ปูตกใจอาจจะมีการสลัดไข่ทิ้งทำให้เสียโอกาสในการขยายพันธุ์
6. การวางแผนการขายปูนา